ทุกครั้งที่เราจะซื้ออะไรสักอย่าง เหตุปัจจัยที่เราจะใช้ในการตัดสินใจซื้อของเหล่านั้นก็มีอยู่มากมายหลายข้อ นั่นก็เพื่อให้ได้ของที่มีคุณภาพและตรงตามความต้องการของเรามากที่สุด ยิ่งด้วยถ้าเป็นของที่มีราคาที่สูงและเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อเรามาก ๆ ก็ยิ่งต้องเลือกให้ดีที่สุดใช่ไหมล่ะครับ
ซึ่งการเลือกซื้อ “จอ LED (จอแอลอีดี)” เองก็เช่นกัน บทความนี้จะพาทุกท่านมารู้จักกับ การเลือกซื้อ “จอ LED (จอแอลอีดี)” สำหรับการใช้งานต่าง ๆ ให้มากขึ้นครับ
การเลือกซื้อ “จอ LED (จอแอลอีดี)” ที่เหมาะกับการใช้งานและการใช้งานที่แตกต่างกันมีหลายปัจจัยที่ควรพิจารณา เช่น วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ขนาดของหน้าจอ ความละเอียด ความสว่าง อัตราส่วน ความรีเฟรชเรต และคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ ตามที่คุณต้องการใช้งาน ดังนี้
1. ขนาดหน้าจอ (Screen Size) : ควรเลือกขนาดหน้าจอที่เหมาะสมกับพื้นที่ใช้งาน หากคุณมีจอฉายโปรเจคเตอร์เดิมอยู่แล้ว สามารถอ้างอิงจากขนาดจอฉายเบื้องต้นได้ หรือหากไม่เคยมีการติดตั้งมาก่อน ควรวัดขนาดความกว้างและสูงให้พอดีกับพื้นที่ใช้งาน และปรึกษากับทางผู้ให้บริการอีกครั้งถึงขนาดที่แน่นอนครับ ทั้งนี้ ขนาดหน้าจอ LED ไม่จำเป็นต้องเป็นขนาดสี่เหลี่ยมแบบที่เราเห็นกันทั่วไป สามารถออกแบบพิเศษ (Customization) ตามดีไซน์ที่ผู้ใช้งานต้องการได้ เช่น ลักษณะจอ LED แบบโค้ง
2. ความละเอียด (Pixel Pitch) : หรือเรียกสั้นๆว่า P ซึ่งคือระยะห่างในหน่วยมิลลิเมตรจากจุดศูนย์กลางของแต่ละพิกเซล ยิ่งระห่างระหว่างพิกเซลลดลง (Pixel Pitch น้อย) แปลว่าความหนาแน่นของไดโอดเปล่งแสง (หลอด LED) ก็จะยิ่งมาก ส่งผลให้ได้ภาพความละเอียดสูงยิ่งขึ้น ความคมชัดของภาพก็มากขึ้นไปด้วย โดยจอ LED ที่มี Pixel Pitch น้อยจะมีราคาสูงกว่าจอ LED ที่มี Pixel Pitch มาก ขนาด Pixel Pitch ที่เป็นที่นิยมสำหรับงานห้องประชุมจะน้อยกว่า P4 โดยหากต้องการใช้งานที่มีความละเอียดหน้าจอสูงขึ้น อาจจะแนะนำเป็นขนาด P2.5 และ P1.8 ครับ
3. ระยะห่างจากหน้าจอ (Distance from screen) : ระยะระหว่างแถวแรกของผู้มองจอ LED กับบริเวณติดตั้งจอ LED มีผลอย่างมากต่อการเลือกความละเอียดของหน้าจอ หากผู้ใช้งานอยู่ห่างจากจอ LED มาก สามารถเลือกใช้จอที่มี Pixel Pitch สูงขึ้น (มีความละเอียดน้อยลง) ได้ แต่หากผู้มองจอ LED อยู่ใกล้กับจอ LED ควรเลือกใช้จอ LED ที่มี Pixel Pitch ที่ต่ำ (มีความละเอียดมากขึ้น) เพื่อสามารถมองเห็นรายละเอียดบนหน้าจอได้อย่างครบถ้วนชัดเจนและสวยงาม
4. ความสว่าง (Brightness) : สำหรับใช้ในสภาวะแสงสว่างสูงหรือออกแสงแดด (จอ LED Outdoor) จะต้องเลือกใช้จอที่มีความสว่างสูง หากใช้งานทั่วไปภายในอาคาร (จอ LED Indoor) ความสว่างในระยะ 400-800 nits ก็เพียงพอ โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกปรับระดับความสว่างได้ตามความสว่างในพื้นที่ใช้งานจริง
5. อัตราส่วน (Aspect Ratio) : อัตราส่วนมาตรฐานสำหรับจอคอมพิวเตอร์คือ 16:9 หรือ 4:3 ทั้งนี้ การออกแบบอัตราส่วนของหน้าจอ สามารถออกแบบพิเศษให้ตรงกับพื้นที่ต้องการใช้งาน รวมถึงพื้นที่ติดตั้งที่มีบริเวณจำกัด ควรปรึกษากับผู้ให้บริการเพื่อให้คำแนะนำการเลือกขนาดและ Aspect Ratio ที่เหมาะสม
6. ค่าเฟรมเรตและค่ารีเฟรชเรต (Frame Rate & Refresh Rate) : เพื่อการเล่นภาพเคลื่อนไหวที่ลื่น สวยงาม ไม่สะดุด สำหรับ “จอ LED” ที่ใช้งานโดยทั่วไป Frame Rate & Refresh Rate มีผลต่อความนุ่มนวลและความลื่นไหลของของภาพ “จอ LED” ส่วนใหญ่จะมีค่า Refresh Rate อยู่ที่ 3,840 Hz และ Frame Rate อยู่ที่ 60 fps หรือ 120 fps เป็นมาตรฐานที่แนะนำครับ
7. การเชื่อมต่อ (Connectivity) : ตรวจสอบว่าจอมีพอร์ตที่เหมาะสมสำหรับอุปกรณ์ที่คุณต้องการเชื่อมต่อ เช่น HDMI, DisplayPort, USB-C, และ USB Hub หรือต้องการการเชื่อมต่อแบบไร้สาย เพื่อการนำเสนองานที่สะดวกยิ่งขึ้น
8. คุณภาพและความสมจริงของสี (Color Accuracy) : คุณภาพสีของจอเป็นสิ่งสำคัญ จอที่มีคุณภาพสีที่ดีจะให้สีที่ตรงกับสีจริง โดยเฉพาะการแสดงโฆษณาสินค้าบางประเภทที่ต้องการให้แสดงสีเอกลักษณ์ของแบรนด์ให้ถูกต้อง ไม่เพี้ยน นอกจากนี้ “จอ LED” บางประเภทมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น HDR (High Dynamic Range) สำหรับความคมชัดและความสวยงามในรูปภาพ รวมถึงค่า Color Temperature หรือการปรับแต่งระดับสี (Color Calibration) สำหรับสีสันที่สวยงานโทนสีที่ดูเป็นธรรมชาติและสมจริง
9. ลักษณะการติดตั้ง (Installation) : จอ LED โดยทั่วไปจะมีการติดตั้ง 3 แบบ ได้แก่ (1) แบบแขวนผนัง (Wall Mount) (2) แบบขาตั้งพื้น (Stacking) และ (3) แบบแขวนจากเพดาน (Hanging) โดยวัสดุของผนังและโครงสร้างก็มีผลต่อราคาเช่นกัน
10. ยี่ห้อและประสบการณ์ผู้ผลิต : ควรพิจารณาแบรนด์ที่เชื่อถือได้และมีความเสถียร บริษัทที่มีประวัติการผลิต “จอ LED” ที่มีคุณภาพสูงเป็นเวลานาน และประกอบโดยโรงงานผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือ มี Certificate รับรองและผ่านการรับรองคุณภาพ ISO
11. การรับประกัน (Warranty) : ตรวจสอบระยะเวลารับประกันและเงื่อนไขการใช้งาน เพื่อให้คุณมั่นใจในคุณภาพและประสิทธิภาพของ “จอ LED” ที่คุณเลือก ควรพิจารณาผู้ให้บริการที่มีการสำรองอะไหล่สำหรับการเปลี่ยนซ่อม เพื่อความรวดเร็วในการเปลี่ยนและไม่เสียโอกาสทางธุรกิจ
12. ศูนย์บริการหลังการขาย (After-sales Service) : ควรตรวจสอบผู้ให้บริการที่มีแผนกหรือศูนย์บริการหลังการขายที่มีความน่าเชื่อถือและมีผู้เชียวชาญคอยดูแล หากจอ LED มีการชำรุดเสียหาย สามารถส่งทีมช่างเทคนิคเข้ามาช่วยซ่อมเซมได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อประสิทธิผลสูงสุดในการใช้งานจอรวมถึงไม่เสียโอกาสในการใช้งานหรือสร้างรายได้โฆษณา
“จอ LED” Indoor สำหรับรูปแบบ Indoor จะใช้งานภายในอาคารหรือที่ร่ม เป็น “จอ LED (จอแอลอีดี)” ที่เหมาะกับการมองระยะใกล้เนื่องจากมีความละเอียดสูง และมีความคงทนต่อสภาพอากาศได้ในระดับหนึ่ง เน้นการใช้งานได้หลายสถานที่ เช่นห้องประชุมขนาดกลางหรือใหญ่ ห้องจัดเลี้ยง ห้องสัมมนา หรือใช้เป็นจอสำหรับตกแต่งสถานที่และแสดงสื่อโฆษณา โดยเราสามารถปรับความเข้มหรือสว่างของหน้าจอให้เหมาะกับสถานที่ได้ตามความต้องการครับ แต่จะให้ความสว่างไม่มากเมื่อเทียบกับจอแบบ Outdoor ดังนั้น “จอ LED” ประเภทนี้จะทนแดดทนฝนได้ปานกลางเท่านั้น
“จอ LED” Outdoor สำหรับรูปแบบ Outdoor จะใช้งานภายนอกอาคารหรือพื้นที่กลางแจ้ง มีความละเอียดน้อยกว่า “จอ LED” แบบที่ใช้ภายในอาคาร ใช้หลอด LED เน้นการมองระยะไกล (Pixel Pitch มีขนาดใหญ่กว่าจอ Indoor) แต่จะให้ความสว่างมากกว่า ”จอ LED” แบบ Indoor ประมาณ 5-6 เท่า ดังนั้น “จอ LED” แบบ Outdoor จะออกแบบมาให้ทนต่อสภาพอากาศได้ดีกว่า ส่วนใหญ่จะใช้ในการแสดงสื่อโฆษณาหรือตกแต่งภายนอกอาคาร นอกจากนี้ “จอ LED” แบบ Indoor สามารถทนแดดทนฝนได้พอสมควร รวมถึงฝุ่น ความชื้น และยังกันน้ำได้ดีอีกด้วยครับ